![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดือนธันวาคม 2564
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดือนมกราคม , กุมภาพันธ์ 2565
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดือนกุมภาพันธ์ 2565
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เดือนพฤษภาคม 2565
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กำหนดมาตรการห้ามเผาเด็ดขาด ประจำปี 2565 อยู่ในช่วงระหว่าง วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565 (ห้วง 60 วัน) มีมาตรการรับมือ ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
- การลาดตระเวน เฝ้าระวังและดับไฟก่อนลุกลาม - การสนธิกำลัง ระดมเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ ทุกภาคส่วน - ติดตามสถานการณ์และประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสถานการณ์ไฟป่า จำนวนจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลอุตุนิยมวิทยา - บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้จุดไฟเผาป่า/ผู้บุกรุกป่า - ดำเนินมาตรการลดฝุ่นละอองและบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ประจำปี พ.ศ. 2565 ----------------------------------------- |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตามที่จังหวัดลำปาง มีมาตรการให้ทุกอำเภอจัดทำแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยให้ดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 นั้น ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน อำเภอแจ้ห่ม ประจำปี 2565 จึงได้กำหนดให้ราษฎรในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มที่จะบริหารจัดการเชื้อเพลิงดำเนินการ ดังนี้ 1. ให้พื้นที่ที่มีความประสงค์จะดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการโดยให้จัดการด้วยวิธีการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นลำดับแรก เช่น การไถกลบตอซังหรือเศษวัชพืชในที่ดินทำกิน ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต้องขออนุญาตจากกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเผาทุกครั้งโดยต้องจัดทำแนวกันไฟความกล้าวไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยรอบพื้นที่และควบคุมไฟมิให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆได้ พร้อมทั้งให้ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนายอำเภอท้องที่ จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการดังกล่าวด้วย 2. หากราษฎรผู้ใดไม่แจ้งขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 1. หรืออนุญาตแล้ว แต่ไม่ทำแนวกันไฟและมิได้ควบคุมไฟให้อยู่ในพื้นที่ที่ตนถือครอง จนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไหม้ป่า ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ราษฎรที่ฝ่าฝืนหรือปล่อยปละละเลย โดยเฉียบขาดทุกรายทั้งทางอาญาและทางแพ่ง โดยเฉพาะราษฎรที่บุกรุกเข้าไปแผ้วถางป่าในเขตป่าอนุรักษ์ เขตป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดจะพิจารณาดำเนินคดีตามความผิดที่เกิดขึ้นทุกราย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||